Search

สรุปสั้นๆ ทำความรู้จัก NATO ว่ามีสมาชิกกี่ประเทศ และไทยเป็นอะไรกับ NATO?

Created: 29 April 2022
233สรุปสั้นๆ ทำความรู้จัก NATO ว่ามีสมาชิกกี่ประเทศ และไทยเป็นอะไรกับ NATO?
 NATO ย่อมาจาก North Atlantic Treaty Organization หรือ องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ รู้จักกันโดยทั่วไปว่า นาโต้ เป็นพันธมิตรทางทหารระหว่างรัฐบาล ก่อตั้งเมื่อวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1949 ปัจจุบันมีสมาชิก 30 ประเทศ องค์การนี้ดำเนินการตามสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือที่ลงนามในวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1949
 
จุดเริ่มต้นของ NATO
จากการลงนามในสนธิสัญญากรุงบรัสเซลส์ เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2491 โดยมีเบลเยียม เนเธอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก ฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักรนั้น ถือเป็นการเริ่มต้นขององค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ ซึ่งสนธิสัญญานี้ และเหตุการณ์การปิดกั้นเบอร์ลินของโซเวียต ทำให้มีการก่อตั้งองค์กรป้องกันสหภาพยุโรปตะวันตก (WEU) ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2491 และด้วยการสนับสนุนอย่างดีจากพันธมิตรสำคัญคือสหรัฐอเมริกาที่ต้องการถ่วงดุลอำนาจทางการทหารกับสหภาพโซเวียต ทำให้พันธมิตรทางทหารที่ก่อตั้งขึ้นมาใหม่นี้เริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้นอย่างรวดเร็ว
 ส่วนการเริ่มต้นสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนืออย่างเป็นทางการนั้น เกิดขึ้นเมื่อมีการลงนามในวอชิงตันดีซี ในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2492 โดยได้รวมสนธิทั้งห้าของของบรัสเซลส์เข้าไว้ด้วยกัน โดยมีสมาชิกที่ร่วมก่อตั้งในครั้งแรกนั้น คือ สหรัฐอเมริกา แคนาดา โปรตุเกส อิตาลี นอร์เวย์ เดนมาร์ก และไอซ์แลนด์ โดยเสียงสนับสนุนในการก่อตั้งนั้นไม่เป็นเอกฉันท์ เนื่องจากมีชาวไอซ์แลนด์บางกลุ่มต่อต้านการเข้าเป็นสมาชิกในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2492
 
หลังจากประเทศในฝั่งประชาธิปไตย ได้มีการก่อตั้งองค์การนาโต้ NATO ทำให้สหภาพโซเวียต (ในเวลานั้น) ต้องมีแอ็กชั่นในฐานะบิ๊กบราเธอร์ฝั่งคอมมิวนิสต์ จึงได้มีการก่อตั้งองค์การสนธิสัญญา Warsaw ในปี 2498 (ค.ศ.1955)
 
โดยมีสมาชิกทั้งหมด 8 ประเทศ ได้แก่
 
1.สหภาพโซเวียต (ในเวลานั้น)
2. เยอรมนีตะวันออก (ในเวลานั้น)
3. โปแลนด์ 
4. เชสโกสโลวะเกีย
5. ฮังการี 
6. โรมาเนีย 
7. บัลแกเรีย
8. อัลแบเนีย
โดยองค์การสนธิสัญญา Warsaw ได้สิ้นสุดลงหลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายในปี 2534 (ค.ศ.1991)
 
232
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่อาร์ลิงตัน รัฐเวอร์จิเนีย ในวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 2013 (ขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองทัพบกไทย)
 
ปัจจุบัน NATO ได้มีสมาชิกจำนวน 30 ประเทศ (เขียนบันทึกเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2565)
 
1. เบลเยียม – เข้าร่วมปี 1949
2. แคนาดา – เข้าร่วมปี 1949
3. เดนมาร์ก – เข้าร่วมปี 1949
4. ฝรั่งเศส – เข้าร่วมปี 1949
5. ไอซ์แลนด์ – เข้าร่วมปี 1949
6. อิตาลี – เข้าร่วมปี 1949
7. ลักเซมเบิร์ก – เข้าร่วมปี 1949
8. เนเธอร์แลนด์ – เข้าร่วมปี 1949
9. นอร์เวย์ – เข้าร่วมปี 1949
10. โปรตุเกส – เข้าร่วมปี 1949
11. สหราชอาณาจักร – เข้าร่วมปี 1949
12. สหรัฐอเมริกา – เข้าร่วมปี 1949
13. กรีซ – เข้าร่วมปี 1952
14. ตุรกี – เข้าร่วมปี 1952
15. เยอรมนี – เข้าร่วมปี 1955
16. สเปน – เข้าร่วม 1982
17. สาธารณรัฐเช็ก – เข้าร่วม 1999
18. ฮังการี – เข้าร่วม 1999
19. โปแลนด์ – เข้าร่วม 1999
20. บัลแกเรีย – เข้าร่วม 2004
21. เอสโตเนีย – เข้าร่วม 2004
22. ลัตเวีย – เข้าร่วม 2004
23. ลิทัวเนีย – เข้าร่วม 2004
24. โรมาเนีย – เข้าร่วม 2004
25. สโลวาเกีย – เข้าร่วม 2004
26. สโลวีเนีย – เข้าร่วม 2004
27. แอลเบเนีย – เข้าร่วม 2009
28. โครเอเชีย – เข้าร่วม 2009
29. มอนเตเนโกร – เข้าร่วม 2017
30. มาซิโดเนียเหนือ – เข้าร่วม 2020
 
นโยบายของ NATO ยุคหลังสงครามเย็น
 
หลังจากที่สงครามเย็นสิ้นสุดลง ปัจจุบัน NATO ได้ปรับเปลี่ยนสถานะในการให้สิทธิพิเศษของ Major Non-NATO Ally (MNNA) เป็นการกำหนดภายใต้กฎหมายของสหรัฐอเมริกา ที่ให้ผลประโยชน์บางประการแก่หุ้นส่วนต่างชาติในด้านการค้าการป้องกันประเทศและความร่วมมือด้านความมั่นคง การแต่งตั้งพันธมิตรรายใหญ่ที่ไม่ใช่ NATO เป็นสัญลักษณ์ที่มีประสิทธิภาพของความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดที่สหรัฐฯ มีร่วมกับประเทศเหล่านั้น และแสดงให้เห็นถึงความเคารพอย่างสุดซึ้งต่อมิตรภาพสำหรับประเทศต่างๆ แม้ว่าสถานะ MNNA จะให้สิทธิพิเศษทางทหารและเศรษฐกิจ แต่ก็ไม่ได้ผูกมัดด้านความมั่นคงใดๆ กับประเทศที่กำหนด
ทีนี้มาถึงประเทศไทยเรา ซึ่งถือว่าเป็นพันธมิตรหลักนอก NATO ภาษาที่อังกฤษเรียกว่า Major Non-NATO Ally หรือตัวย่อคือ MNNA ซึ่งคำนี้เป็นคำที่สหรัฐใช้เรียกประเทศพันธมิตรหลักที่ไม่ได้อยู่ในองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (NATO) แม้จะไม่ได้รวมถึงสนธิสัญญาป้องกันร่วมกับสหรัฐ แต่ยังคงได้เปรียบทางการทหารและการเงินที่มากกว่าประเทศที่ไม่ได้อยู่ใน NATO
 
สิทธิพิเศษที่ได้รับของไทยจากการเป็นพันธมิตรหลัก MNNA ภายใต้ 22 USC §2321k
 
1. มีสิทธิ์ยืมวัสดุ วัสดุ หรืออุปกรณ์เพื่อการวิจัย พัฒนา ทดสอบ หรือประเมินผลโดยความร่วมมือ
 
2. มีสิทธิ์เป็นสถานที่สำหรับคลังสินค้าสำรองสงครามที่สหรัฐฯ เป็นเจ้าของเพื่อนำไปวางในอาณาเขตของตนนอกสถานประกอบการทางทหารของสหรัฐฯ
 
3. สามารถเข้าทำข้อตกลงกับสหรัฐอเมริกาสำหรับการจัดหาการฝึกอบรมแบบร่วมมือแบบทวิภาคีหรือพหุภาคี หากการจัดการด้านการเงินเป็นการตอบแทนซึ่งกันและกันและจัดให้มีการชดเชยค่าใช้จ่ายโดยตรงทั้งหมดของสหรัฐอเมริกา
 
4. มีสิทธิ์ในขอบเขตสูงสุดที่เป็นไปได้สำหรับการจัดส่งมาตราการป้องกันส่วนเกิน  ที่ โอนภายใต้มาตรา 516 ของพระราชบัญญัติความช่วยเหลือต่างประเทศ (หากตั้งอยู่ทางใต้หรือตะวันออกเฉียงใต้ของ NATO)
 
5. มีสิทธิ์พิจารณาซื้อกระสุนยูเรเนียมที่หมดแล้ว
 
สิทธิพิเศษที่เกิดจากการกำหนด MNNA ภายใต้ 10 USC §2350a
 
1. มีสิทธิ์เข้าร่วม MOU หรือข้อตกลงอย่างเป็นทางการอื่นๆ กับกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เพื่อวัตถุประสงค์ในการดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนาความร่วมมือด้านยุทโธปกรณ์และยุทโธปกรณ์
 
2. อนุญาตให้บริษัทของ MNNA เช่นเดียวกับกลุ่มประเทศ NATO สามารถประมูลสัญญาสำหรับการบำรุงรักษา ซ่อมแซม หรือยกเครื่องอุปกรณ์ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ นอกสหรัฐอเมริกา
 
3. อนุญาตให้ระดมทุนเพื่อจัดหาอุปกรณ์ตรวจจับวัตถุระเบิดและโครงการวิจัยและพัฒนาการต่อต้านการก่อการร้ายอื่น ๆ ภายใต้การอุปถัมภ์ของ คณะทำงานสนับสนุนด้านเทคนิค ของกระทรวงการต่างประเทศ
 
ปัจจุบัน 17 ประเทศถูกกำหนดให้เป็น MNNAs ภายใต้ 22 USC §2321k และ 10 USC §2350a
 
อัฟกานิสถาน อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย บาห์เรน บราซิล อียิปต์ อิสราเอล ญี่ปุ่น จอร์แดน เกาหลี คูเวต โมร็อกโก นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ ไทย และตูนิเซีย
 
นอกจากนี้ Pub L. 107–228 ให้ไต้หวันได้รับการปฏิบัติเหมือนเป็น MNNA โดยไม่มีการกำหนดอย่างเป็นทางการเช่นนั้น
 
ทีนี้มาดูรายชื่อว่ามีประเทศใดบ้างที่ได้รับเลือกเป็นพันธมิตรหลักนอก NATO
 
1. ออสเตรเลีย
2. อียิปต์
3. อิสราเอล
4. ญี่ปุ่น
5. เกาหลีใต้
6. จอร์แดน
7. นิวซีแลนด์
8. อาร์เจนตินา
9. บาห์เรน
10. ฟิลิปปินส์
11. ไทย
12. ไต้หวัน (โดยพฤตินัย)
13. คูเวต
14. โมร็อกโก
15. ปากีสถาน
16. อัฟกานิสถาน    
17. ตูนิเซีย
18. บราซิล
19. กาตาร์
20. โคลอมเบีย
 
 
ขอบคุณ: เว็บ U.S. Department of State และ วิกิพีเดีย
 

คลิปวิดีโอต่างๆ

haha general