Search

เศรษฐกิจดี? สิ้นปี 65 ยอดสะสมพุ่ง 4.7 ล้านบัญชี 60% เป็นสินเชื่อส่วนบุคคล

Created: 02 March 2023
35เมื่อวันที่ 2 มีนาคม นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยว่า ในไตรมาส 4 ปี 2565 หนี้สินครัวเรือนขยายตัวเพิ่มขึ้น
  
โดยมีมูลค่า 14.90 ล้านล้านบาท ขยายตัว 3.9% จาก 3.5% ของไตรมาสก่อน โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 5 ไตรมาส นับตั้งแต่ไตรมาส 3 ปี 2564 ซึ่งการเพิ่มขึ้นดังกล่าวเป็นผลจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและตลาดแรงงานที่ปรับตัวดีขึ้น ขณะที่สัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) อยู่ที่ 86.8% ลดลงจาก 88.1% จากไตรมาสที่ผ่านมา
 
ทั้งนี้ หนี้สินครัวเรือนขยายตัวในทุกประเภทสินเชื่อ โดยสินเชื่อที่มีการขยายตัวในอัตราสูง ได้แก่ สินเชื่อบัตรเครดิต ขยายตัว 11.8% และสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ ขยายตัวถึง 21.4% ขณะที่ภาพรวมคุณภาพสินเชื่อทรงตัว แต่ต้องเฝ้าระวังสินเชื่อยานยนต์ที่มีสัดส่วนสินเชื่อกล่าวถึงพิเศษ หรือสินเชื่อค้างช่าระน้อยกว่า 3 เดือน ที่มีสัดส่วนโดยมีสัดส่วน 13.7% ของสินเชื่อรวม โดยเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 5 ติดต่อกัน
 
นอกจากนี้ จากข้อมูลเครดิตบูโร พบว่าในช่วงไตรมาส 3 ปี 2565 มีหนี้คงค้างที่เป็นหนี้เสีย อยู่ที่ 1.09 ล้านล้านบาท โดยอยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้ 7.8 แสนล้านบาท และเมื่อไปดูหนี้เสียรายวัตถุประสงค์พบว่าหนี้เสียของสินเชื่อบัตรเครดิตในกลุ่มลูกหนี้ที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปี เพิ่มขึ้น 2.5% ส่วนหนี้เสียของสินเชื่อส่วนบุคคลพบว่า ลูกหนี้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป มีการขยายตัวค่อนข้างสูง และมีหนี้เสียต่อบัญชีสูงถึง 77,942 บาท
 
ขณะเดียวกัน กลุ่มลูกหนี้ดีที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด จนกลายเป็นหนี้เสียยังมีปริมาณมาก แม้สถานการณ์การแพร่ระบาดจะคลี่คลายลง แต่มูลค่าหนี้เสียของกลุ่มดังกล่าวยังสูงถึง 4 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2565 และมีจำนวนบัญชีที่เป็นหนี้เสียเพิ่มขึ้นเป็น 4.7 ล้านบัญชีจาก 4.3 ล้านบัญชีของไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเกือบ 60% เป็นสินเชื่อส่วนบุคคล
 
“ในส่วนของหนี้เอ็นพีแอลจากโควิดนั้น ยังคงต้องติดตามดูอย่างต่อเนื่อง โดยยังระบุไม่ได้ว่าจะถึงจุดสูงสุด หรือ จุดพีค เมื่อไหร่ แต่เชื่อว่า หลังจากนี้สถานการณ์จะดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามภาวะเศรษฐกิจไทยที่ปรับตัวดีขึ้น”นายดนุชา กล่าว
 
ดังนั้น จึงต้องติดตามคุณภาพสินเชื่อ การเร่งดำเนินการปรับ โครงสร้างหนี้ของลูกหนี้ที่เริ่มมีสัญญาณการผิดชำระหนี้เพื่อลดความเสี่ยงในการตกชั้นของลูกหนี้ที่มีจำนวนมาก และการออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้เฉพาะกลุ่ม และ 2) การมีมาตรการช่วยเหลือเฉพาะเจาะจง เช่น ขยายเวลา ชำระหนี้ กำหนดสัดส่วนการช่าระหนี้ให้สอดคล้องกับรายได้ เป็นต้น เพื่อลดจำนวนลูกหนี้เสียไม่ให้เพิ่มขึ้นในระยะถัดไป และรักษาสถานะลูกหนี้ให้อยู่ในระบบการเงิน
 
ขอบคุณ: มติชนออนไลน์
 

คลิปวิดีโอต่างๆ

haha general