Please enable JavaScript!
Bitte aktiviere JavaScript!
S'il vous plaît activer JavaScript!
Por favor,activa el JavaScript!
antiblock.org

Your Language

Thai Thai

มหากาพย์เหมืองทองอัครากับการลั่นวาจาของใครบางคน

37

กรณีพิพาทระหว่างรัฐไทยกับ บ.คิงส์เกต คอนโซลิเดทเต็ด ลิมิเต็ด ของออสเตรเลีย ในคดีเหมืองทองอัคราหลัง พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีใช้อำนาจหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) สั่งระงับกิจการเหมืองแร่ทั่วประเทศ
เหมืองทองอัคราหรือเหมืองทองคำชาตรีตั้งอยู่ในพื้นที่รอยต่อ 3 จังหวัด คือ จ.พิจิตร จ.พิษณุโลก และ จ.เพชรบูรณ์ ดำเนินการโดย บ.อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ บ.คิงส์เกตฯ

บ.คิงส์เกตฯ เรียกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 72/2559 ลงนามโดย พล.อ.ประยุทธ์ว่า "คำสั่งปิดเหมืองโดยมิชอบด้วยกฎหมายของรัฐบาลไทย" และเห็นว่าคำสั่งนี้ละเมิดข้อตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย แม้ว่าจะมีความพยายามในการเจรจาแล้วแต่ไม่สามารถหาข้อยุติได้ จึงเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศเพื่อระงับข้อพิพาทเมื่อเดือน พ.ย. 2560 โดยเรียกร้องให้รัฐบาลไทยชดเชยค่าเสียหายกว่า 750 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ 30,000 ล้านบาท

อนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศเสร็จสิ้นกระบวนการไต่สวนไปตั้งแต่วันที่ 12 ก.พ. 2563 แล้ว แต่ยังไม่มีคำชี้ขาดใด ๆ เนื่องจากคู่กรณีทั้งสองได้ร้องขอให้คณะอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศเลื่อนการอ่านคำตัดสินมาแล้วถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกขอให้เลื่อนการอ่านคำตัดสินมาเป็นภายในวันที่ 31 ต.ค. 2564 และขอเลื่อนอีกครั้งมาเป็นภายในวันที่ 31 ม.ค. 2565 เนื่องจากกระบวนการเจรจาคู่ขนานยังไม่ได้ข้อยุติ

หากไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง คาดว่าอนุญาโตตุลาการจะอ่านคำชี้ขาดภายในวันที่ 31 ม.ค. 65 นี้

22
อะไรคือฉากทัศน์และผลพวงจากคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ บีบีซีไทยสนทนากับผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายอนุญาโตตุลาการ และการลงทุนระหว่างประเทศ และนักเคลื่อนไหวภาคประชาชนที่ติดตามกรณีเหมืองทองอัคราเพื่อวิเคราะห์ทิศทางแนวโน้มและผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อประเทศไทย

ฉากทัศน์ที่ 1 "Happy Ending"
นับตั้งแต่เข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการ ทั้งรัฐบาลไทยและคู่กรณีอย่าง บ.คิงส์เกตฯ ต่างแสดงเจตจำนงในการเจรจาเพื่อหาทางระงับข้อพิพาทควบคู่ไปกับกระบวนการระงับข้อพิพาทตามกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งปรากฏในถ้อยแถลงของ บ.คิงส์เกตฯ ที่แจ้งต่อหน่วยงานกำกับดูแลตลาดหลักทรัพย์ของออสเตรเลียหลายครั้งในระยะหลัง

ดร.อำนาจ ตั้งคีรีพิมาน ผู้ช่วยคณบดีหลักสูตรนานาชาติ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บอกกับบีบีซีไทยว่าหากการเจรจาได้ข้อยุติ ข้อพิพาทนี้ก็จะถือว่าจบลงแบบ "happy ending" หรือเป็นที่พอใจของทุกฝ่าย คู่กรณีก็จะเข้าสู่การทำสัญญาประนีประนอมยอมความ (Settlement Agreements)
23
ส่วนสิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังจากทั้งสองฝ่ายบรรลุสัญญาประนีประนอมยอมความ ดร.อำนาจวิเคราะห์ว่ามี 2 แนวทาง คือ

แนวทางที่ 1 บ.คิงส์เกตฯ ถอนคดีออกจากกระบวนการอนุญาโตตุลาการ
แนวทางที่ 2 ขอให้คณะอนุญาโตตุลาการ "ชี้ขาดตามยอม" กล่าวคือมีคำชี้ขาดที่ไม่ได้ตัดสินว่าฝ่ายใดถูกฝ่ายใดผิด แต่ชี้ขาดว่าทั้งสองฝ่ายจะต้องปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ได้ตกลงกันไว้ หากว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว ก็สามารถนำคำชี้ขาดนี้ใช้บังคับคดีกันต่อไปได้
อย่างไรก็ตาม นายเลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ หัวหน้าพรรคสามัญชนและนักต่อสู้ด้านสิทธิในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติซึ่งเคลื่อนไหวและติดตามคดีเหมืองทองอัครามาอย่างต่อเนื่อง แสดงความกังวลต่อท่าทีการเจรจาที่ผ่านมาของรัฐบาลไทยกับ บ.คิงเกตฯ หลังจากเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการแล้ว รวมทั้งผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ที่จะทำให้ประชาชนเสียเปรียบ

"สิ่งที่ผมกังวลมากที่สุด ในส่วนของการเจรจาระหว่างรัฐไทยและนักลงทุนต่างชาติ คือ อาจนำไปสู่ดีล (ข้อตกลง) ที่เกินไปกว่าข้อพิพาทในลักษณะ 'มาตรา 44 ซ่อนรูป' เพื่อแลกกับการชดใช้ให้กับเอกชน เช่น การอนุญาตให้ขยายประทานบัตรเพิ่ม และข้อตกลงที่อาจจะไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ. แร่ 2560" นายเลิศศักดิ์วิเคราะห์โดยอ้างถึงมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 2557 ที่ให้อำนาจหัวหน้า คสช. สั่งการ ระงับ ยับยั้งหรือกระทำการใด ๆ ได้ทั้งทางนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ เพื่อประโยชน์และป้องกันปราบปรามการกระทำที่ทำลายความสงบเรียบร้อยหรือความมั่นคงของชาติ

ฉากทัศน์ที่ 2 ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ชนะ
การเข้าสู่ข้อพิพาทระหว่างรัฐบาลไทยและผู้ลงทุนรายใหญ่จากออสเตรเลีย ถือว่าเป็นการเดิมพันมูลค่าสูงเป็นหลักหลายหมื่นล้านบาท ซึ่งยังไม่นับรวมกับงบประมาณแผ่นดินที่รัฐบาลไทยนำไปใช้ในการระงับข้อพิพาทกรณีปิดเหมืองทองอัคราระหว่างปี 2562-2564 รวมทั้งผลกระทบอื่น ๆ ที่จะตามมา ซึ่งยังไม่มีการประเมินมูลค่าในภาพรวม

"หากตกลงกันไม่ได้ (ในการเจรจา) และคณะอนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดออกมา นั่นหมายความว่า ไม่ฝ่ายไทยชนะ ก็ฝ่าย บ.คิงส์เกตฯ ชนะ หากฝ่ายไทยชนะเรื่องอาจจะจบไปเลย แต่หากเป็นฝ่ายคิงส์เกตฯ ชนะสิ่งที่จะต้องติดตามดูต่อไปก็คือ ค่าสินไหมทดแทนที่คณะอนุญาโตตุลาการจะสั่งให้ประเทศไทยจ่าย จะเป็นเท่าไหร่ และไทยจะยอมจ่ายหรือไม่" ดร.อำนาจกล่าว
หากว่าทางรัฐบาลไทยไม่ยอมจ่ายค่าชดเชยแก่คู่กรณี นักวิชาการด้านกฎหมายรายนี้อธิบายว่า ก็จะต้องมีการบังคับตามคำขี้ขาด ซึ่งประเทศไทยเคยเจอมาแล้วครั้งหนึ่งในคดีโครงการก่อสร้างและให้บริการทางยกระดับดินแดง-ดอนเมือง ซึ่งพิพาทกับ บ.วอลเตอร์ บาว เอจี (Walter Bau AG) ผู้ลงทุนจากเยอรมนี ที่ บมจ. ทางยกระดับดอนเมืองยื่นคำร้องต่ออนุญาโตตุลาการฟ้องกระทรวงคมนาคมในปี 2550 และต่อมาในปี 2552 อนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดว่าประเทศไทยผิดพันธกรณีภายใต้ข้อตกลง และต้องชดใช้ค่าเสียหายกว่า 29.21 ล้านยูโร บวกกับดอกเบี้ย

อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยไม่ยอมจ่ายค่าชดเชย จึงทำให้ บ.วอลเตอร์ บาว นำคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไปบังคับใช้ในประเทศต่าง ๆ ผ่านบริษัทผู้พิทักษ์ทรัพย์ ตามอนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับนับถือและการบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ หรือ อนุสัญญานิวยอร์ก (New York Convention 1958) ซึ่งมีประเทศภาคีราว 170 ประเทศ และได้สืบทราบว่าในประเทศเยอรมนีมีทรัพยสินที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยอยู่

"ถ้ายังจำข่าวกันได้ (เมื่อปี 2554) บ.วอลเตอร์ บาว ได้นำคำชี้ขาดดังกล่าวไปบังคับที่ศาลเยอรมนี และนำไปสู่การอายัดเครื่องบินพระที่นั่งส่วนพระองค์ ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร" อาจารย์จากคณะนิติศาสตร์ มธ. ยกตัวอย่างเหตุการณ์ในอดีตประกอบ

ต่อมาศาลเยอรมนีมีคำสั่งให้ถอนอายัดเครื่องบินโบอิ้ง 737 ลำดังกล่าว โดยมีเงื่อนไขว่าต้องวางเงินเป็นหลักประกันมูลค่า 20 ล้านยูโร หรือประมาณ 850 ล้านบาท ทั้งนี้ จากรายงานข่าวสื่อมวลชนไทยระบุว่า ทางการไทยชี้แจงกับศาลในเยอรมนีว่า เครื่องบินลำดังกล่าวไม่ใช่เครื่องบินของทางราชการ แต่เป็นเครื่องบินส่วนพระองค์

"หากเทียบกันกับคดีวอลเตอร์ บาว หากว่าไทยแพ้คดีให้กับคิงส์เกตฯ และไม่ยอมจ่ายค่าสินไหมทดแทนก็อาจจะเอาคำชี้ขาดที่ชนะคดีไปบังคับในประเทศต่าง ๆ ที่เป็นสมาชิกของอนุสัญญานิวยอร์กได้" ดร.อำนาจกล่าวและวิเคราะห์ว่า มีความเป็นไปได้ที่คิงส์เกตฯ อาจจะนำคำชี้ขาดมาบังคับใช้ เช่นเดียวกันกับคดีโฮปเวลล์

ทางด้านนายเลิศศักดิ์บอกว่า แม้ว่าหลังมีคำชี้ขาดจะยังสามารถต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรมไทยได้ แต่ก็อยากเห็นรัฐบาลไทยแสดงเจตนารมณ์ในการต่อสู้ในชั้นอนุญาโตตุลาการให้มากกว่านี้ โดยใช้หลักฐานต่าง ๆ ที่มีอยู่อย่างเต็มที่ เช่น ผลการสอบสวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) รวมทั้งข้อกำหนดในกฎหมายใหม่ ๆ เกี่ยวกับการทำเหมืองแร่

"ถ้าแพ้ในชั้นอนุญาโตตุลาการโดยไม่เห็นการต่อสู้อย่างเต็มที่ของรัฐบาลไทย ในฐานะประชาชนก็จะรู้สึกเสียใจ รู้สึกล้มเหลว เพราะ (ผมรู้สึกว่า) คุณไม่ได้จัดการเรื่องนี้ภายใต้ผลประโยชน์และความสงบสุขของประชาชนอย่างจริงใจ แต่พวกคุณกำลังเกลี่ยผลประโยชน์ใหม่สำหรับนายทุนเหมืองแร่ทองคำเท่านั้นเอง ที่มากกว่าคิงส์เกตฯ" นายเลิศศักดิ์ตั้งข้อสังเกต

ฉากทัศน์ที่ 3 คู่กรณีซื้อเวลาเจรจาต่อ
นอกจากความเป็นไปได้ตาม 2 แนวทางข้างต้นแล้ว การเจรจาคู่ขนานที่กำลังดำเนินอยู่และยังไม่สามารถหาข้อสรุปร่วมกันได้อาจจะเป็นปัจจัยที่ทำให้การอ่านคำพิพากษาชี้ขาดที่อาจจะมีขึ้นภายในสิ้นเดือนนี้ ต้องถูกเลื่อนออกไปอีกเป็นครั้งที่ 3

"ตอนแรกผมก็ไม่คิดว่าคำชี้ขาดจะออกมาช้าขนาดนี้ แต่ก็เข้าใจว่าคู่พิพาทคงจะส่งสัญญาณไปเรื่อย ๆ ว่า กำลังคุยกันอยู่ ขอให้ขยายเวลา ขออย่าให้คณะอนุญาโตตุลาการออกคำตัดสินหรือพักคำชี้ขาดไว้ก่อน" ดร.อำนาจกล่าว

บ.คิงส์เกตฯ แจ้งหน่วยงานกำกับดูแลตลาดหลักทรัพย์ของออสเตรเลียในครั้งแรกว่า คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจะออกมาในวันที่ 31 ต.ค. 2564 แต่เมื่อใกล้ถึงกำหนด คู่กรณีก็ได้ขอให้เลื่อนการอ่านคำชี้ขาดออกไปเป็นวันที่ 31 ม.ค. อีก

"หากถามว่า ในครั้งนี้มีความเป็นไปได้ไหมว่าจะขยายระยะเวลาออกไปอีก ผมคิดว่า มีความเป็นไปได้ โดยหลักการแล้ว การขอขยายระยะเวลาจำเป็นต้องได้รับความยินยอมเห็นด้วยของทั้งสองฝ่ายเมื่อเห็นว่าการเจรจายังคงสามารถดำเนินต่อไปได้"

ดร. อำนาจให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ตามหลักการไม่มีข้อกำหนดหรือข้อจำกัดจำนวนครั้งของการขยายระยะเวลาพักการอ่านคำขี้ขาด และหากพิจารณาจากสถิติคดีที่เข้าสู่ชั้นอนุญาโตตุลาการตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศแล้ว จะใช้เวลาเฉลี่ยคดีละ 4 ปี ขึ้นอยู่กับความยากง่ายและความซับซ้อนของคดี บางคดีอาจจะใช้เวลายาวนานถึง 10 ปี บางคดีอาจจะใช้ระยะเวลาสั้นกว่า 4 ปีก็เป็นได้
24
นักวิชาการด้านกฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศจากสำนักธรรมศาสตร์ยังได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลของรัฐบาลไทยเกี่ยวกับการต่อสู้คดีในอนุญาโตตุลาการด้วยว่า รัฐบาลให้ข้อมูลต่อสาธารณะไม่มากนัก จนทำให้เกิดข้อสงสัยต่าง ๆ ถึงกระบวนการ ในทางกลับกัน ดูเหมืองฝ่ายผู้ฟ้องคดีอย่าง บ.คิงส์เกตฯ จะเป็นผู้ให้ข้อมูลความเคลื่อนไหวมากกว่า ซึ่ง ดร.อำนาจอธิบายประเด็นนี้ว่า อาจจะเป็นเพราะว่า บ.คิงส์เกตฯ มีหน้าที่รายงานข้อมูลต่อหน่วยงานกำกับดูแลตลาดหลักทรัพย์ของออสเตรเลีย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นและผลการดำเนินการของบริษัทฯ จึงทำให้ข้อมูลส่วนใหญ่มาจากฝ่ายคิงส์เกตฯ

"ที่ผ่านมา ทางรัฐไทยไม่มีความจำเป็นในการเปิดเผยข้อมูล อาจจะมองว่าเป็นความลับทางราชการ แต่ในช่วงหลัง ๆ มีคดีพิพาทระหว่างรัฐและนักลงทุนมากขึ้น ซึ่งเกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะ จะเป็นปัจจัยผลักดันให้เรื่องนี้ต้องมีความโปร่งใสมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่พยายามเปิดเผยข้อมูลเพื่อประโยชน์สาธารณ์เท่าที่จำเป็น" ดร. อำนาจกล่าว

บทเรียนจาก "คดีเหมืองทองอัครา"
การใช้อำนาจของ พล.อ. ประยุทธ์ เมื่อครั้งที่เป็นหัวหน้า คสช. โดยอาศัย ม.44 ออกคำสั่งระงับการอนุญาตให้สำรวจเหมืองแร่ทองคำ การต่ออายุประทานบัตรเหมืองแร่และการต่ออายุใบอนุญาตประกอบโลหกรรมแร่ทองคำ รวมทั้งการระงับการประกอบกิจการ มีทั้งกลุ่มที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แต่เมื่อคำสั่งนี้กลายเป็นข้อพิพาทและเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการ หลายฝ่ายก็เริ่มมีความกังวลถึงผลพวงที่จะเกิดขึ้นหลังคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ

นายเลิศศักดิ์ ซึ่งมีอีกบทบาทหนึ่งคือแกนนำกลุ่มภาคประชาสังคมที่ใช้ชื่อว่า "เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่" มองว่ากรณีเหมืองทองอัคราฯ ได้ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงบางอย่างในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ของไทย กล่าวคือ มีความพยายามในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจของรัฐที่ผูกขาดอำนาจตั้งแต่การให้อาชญาบัตร ประทานบัตรและใบอนุญาตประกอบกิจการเหมืองแร่ จากเดิมที่ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับความเห็นของประชาชน มาเป็นการรับฟังมากขึ้นและเปิดโอกาสให้มีปฏิสัมพันธ์จากหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะของประชาชนที่อาศัยรอบ ๆ เหมือง
25
นี่จึงนำมาสู่การปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่าง พ.ร.บ. เหมืองแร่ ปี 2560 ที่ต้องการจะพัฒนาห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุดรอยรั่วต่าง ๆ เพื่อดึงดูดนักลงทุนใหม่ ๆ ซึ่งจะช่วยสร้างงานและเพิ่มรายได้ให้ประเทศ

ขณะที่ฝ่ายนิติบัญญัติของไทยก็ให้ความสนใจและตระหนักถึงเรื่องปัญหาเหมืองแร่มากขึ้นเช่นกัน เช่น ในรายงานการศึกษาเรื่อง "เหมืองทองคำ: รายได้รัฐและผลกระทบต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม" โดย น.ส. สิตาวีร์ ธีรวิรุฬห์ นักวิชาการจากสำนักวิชาการ สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (ม.ค. 2560) ได้เสนอแนะในประเด็นการทำเหมืองทองในไทย ซึ่งปัจจุบันมีเพียงเหมืองทองชาตรีและเหมืองทองภูทับฟ้า จ.เลย ไว้ว่า นโยบายรัฐต้องเน้นถึงเรื่องความยั่งยืน กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นและปฏิรูปการบริหารจัดการเหมืองทองคำเพื่อให้เกิดสุขภาวะที่ดีของประชาชนในพื้นที่ ดูแลประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการทำเหมือง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องกำกับดูแลการประกอบการ และการฟื้นฟูพื้นที่ที่ผ่านการทำเหมือง

สำหรับเหมืองทองอัคราที่ถูกปิดไป นายเลิศศักดิ์มองว่าเอกชนและหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องควรเร่งดำเนินการเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบและฟื้นฟูสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมจากการทำเหมือง

"หลังจากมีคำสั่งปิดเหมืองตั้งแต่ปี 2560 หนึ่งในสาระคำสั่งหัวหน้า คสช. คือ การฟื้นฟูในพื้นที่ที่ได้รับประทานบัตร แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีกระบวนการใด ๆ ของหน่วยงานรัฐที่เข้ามามีส่วนร่วมในการฟื้นฟูเหมืองอย่างจริงจัง ในขณะที่นักวิชาการก็มีแรงผลักดันไม่เพียงพอ" นายเลิศศักดิ์กล่าว


ทางด้าน ดร.อำนาจมองว่า กรณีเหมืองทองอัคราเป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นว่า ในปัจจุบันกฎหมายระหว่างประเทศมีบทบาทสำคัญเพิ่มมากขึ้น

"การใช้ ม. 44 ถือเป็นการใช้อำนาจที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ แต่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ (ในขณะนั้น) แต่เราอาจจะลืมไปว่า เราไม่ได้อยู่คนเดียวในโลก กฎหมายต่างประเทศก็มีบทบาทเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น รัฐบาลจะต้องคำนึงถึงกฎหมายระหว่างประเทศให้มากขึ้นด้วย" เขากล่าวทิ้งท้าย

ย้อนเหตุการณ์สำคัญ มหากาพย์ข้อพิพาทเหมืองทองอัครา

4 กรกฎาคม 2530
กระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกำหนดพื้นที่เพื่อการพัฒนาเหมืองแร่ทองคำเป็นโครงการใหญ่เพื่อเชิญชวนให้ผู้ลงทุนยื่นขอสิทธิสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำ แต่ไม่มีผู้สนใจลงทุนพัฒนาเหมืองทองคำ เพราะเห็นว่ารัฐจัดเก็บค่าภาคหลวงแร่ในอัตราสูงถึง 10% ของราคาประกาศ
26
12 กันยายน 2535
การปรับลดค่าภาคหลวงแร่ จาก 10% เหลือ 2.5% ตรงกับรัฐบาลของนายอานันท์ ปันยารชุน เพื่อดึงดูดการลงทุน

ครม. มีมติให้ลดค่าภาคหลวงแร่ทองคำลงจากอัตรา 10% ของราคาประกาศ เป็น 2.5% โดยใช้ราคาตลาดทองคำลอนดอนเป็นมาตรฐาน

2536
บ.คิงส์เกต คอนโซลิเดเต็ด จากออสเตรเลีย เริ่มลงทุนในไทยผ่าน บ. อัครา ไมนิ่ง เพื่อทำธุรกิจเหมืองแร่ทองคำ

2537
บ.อัครา ไมนิ่ง (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น บมจ. อัครา รีซอร์สเซส) เริ่มสำรวจแหล่งแร่ทองคำในพื้นที่ จ.พิจิตร และ จ.เพชรบูรณ์

13 มิถุนายน 2543
ครม. เห็นชอบแนวทางแก้ไขปัญหาการบุกรุกหาแร่ทองคำบริเวณเขาพนมพา ต.หนองพระ อ.วังทรายพูน จ.พิจิตร โดยผ่อนผันเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายให้ อบจ. ดำเนินการขอประทานบัตรในพื้นที่ดังกล่าว

27

 

บ.อัคราฯ ได้รับประทานบัตรเหมืองแร่ 5 ฉบับ ครอบคลุมพื้นที่โครงการชาตรีใต้

28
มกราคม 2544
บ.อัคราฯ เริ่มดำเนินการผลิตทองคำเชิงพาณิชย์ และได้รับสิทธิส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ เช่น ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 8 ปี และได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล 50% อีก 5 ปี

22 ตุลาคม 2550
กระทรวงอุตสาหกรรมปรับค่าภาคหลวงแร่จากอัตราคงที่ 2.5% ของราคาทองคำ เป็นอัตราก้าวหน้าตามราคาทองคำระหว่าง 0-20%

4 ธันวาคม 2550
ครม. มีมติมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปศึกษาและเสนอแนะนโยบายการสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำ

มิถุนายน 2551
บ.อัคราฯ ได้ประทานบัตรสำหรับโครงการชาตรีเหนือจำนวน 9 แปลง ซึ่งมีพื้นที่เพิ่มขึ้นถึงสามเท่า โดยมีสัมปทานถึงปี 2571 แม้ว่าจะมีกลุ่มชาวบ้านออกมาคัดค้านการขยายเหมือง แต่ไม่เป็นผล

4 มีนาคม 2554

ครม. มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาข้อร้องเรียนของกลุ่มผู้คัดค้านเหมืองแร่ในนาม “ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม” กรณีการทำเหมืองแร่ทองคำในพื้นที่ จ.พิจิตร จ.พิษณุโลก และ จ.เพชรบูรณ์ ให้กระทรวงอุตสาหกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องชะลอการให้สัมปทานเหมืองรายใหม่ เร่งรัดการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหมืองแร่

2555
บ.อัคราฯ ได้รับอนุมัติให้ขยายโรงงานประกอบโลหกรรม และได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ เช่น การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี จากกำไรสุทธิที่ได้รับจากการประกอบโลหกรรมส่วนขยาย

สิงหาคม 2556
บ.อัคราฯ จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยแปรสภาพมาเป็น บมจ. อัครา รีซอร์สเซส โดยมี บ. คิงส์เกต คอนโซลิเดเต็ด ยังถือหุ้นหลักในสัดส่วน 48.2% ส่วนอีก 51.8% เป็นของนางณุชรีย์ ไศละสูต ต่อมาบริษัทได้ถอนการเสนอขายหุ้นให้ประชาชนทั่วไป แต่ยังคงสภาพเป็นบริษัทมหาชนจนถึงปัจจุบัน

พฤษภาคม 2557
กลุ่มประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ยื่นหนังสือร้องเรียนต่อสำนักนายกรัฐมนตรี จากนั้นทีมนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยรังสิตลงพื้นที่ตรวจเก็บตัวอย่างปัสสาวะ เลือด น้ำและดิน เพื่อนำไปตรวจพิสูจน์ที่โรงพยาบาลรามาธิบดีพบว่า ประชาชนในพื้นที่รอบเหมืองทอง จำนวน 738 คน เด็ก 67 คน มีสารหนูในเลือดสูง และผู้ใหญ่จำนวน 664 คน มีสารหนู 104 คน ส่วนผลตรวจจากสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ระบุว่าประชาชน 200 ราย มี DNA ผิดปกติ

13 มกราคม 2558
นายสุรพงษ์ เทียนทอง อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ลงนามในหนังสือด่วนที่สุดสั่งให้ บมจ. อัคราฯ หยุดประกอบกิจการโลหกรรมเป็นเวลา 30 วัน เพื่อหาสาเหตุผลกระทบต่อสุขภาพชาวบ้าน โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 125 แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2530

1 ตุลาคม 2558

ป.ป.ช. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนกรณีทุจริตในการทำเหมืองแร่ทองคำบริเวณพื้นที่จังหวัดพิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ หลังจากมีตัวแทนของประชาชนผู้ร้องเรียนและผู้ได้รับผลกระทบด้านสุขภาพในพื้นที่มาตั้งแต่ปี 2553 และมีข้อมูลว่า ก.ล.ต. พบบริษัทออสเตรเลีย ถือหุ้นใหญ่บริษัทไทย ถูกร้องสอบทำทุจริตการขุดเหมือง และให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ
29
16 ตุลาคม 2558
กระทรวงอุตสาหกรรมตั้งคณะกรรมการกลางตรวจสอบข้อพิพาทระหว่างชาวบ้านรอบเหมืองทองคำ จ.พิจิตร กับผู้ประกอบการ หวังยุติความขัดแย้ง
30
22 สิงหาคม 2559
บมจ.อัคราฯ เผยแพร่ผลการตรวจสุขภาพของประชาชนจำนวน 226 คนที่อาศัยอยู่บริเวณรอบเหมืองแร่ทองคําชาตรีในรัศมี 500 เมตร และ 5 กิโลเมตร ตามเงื่อนไขการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ อ้างไม่พบสารไซยาไนด์ในเลือดเกินเกณฑ์

10 ธันวาคม 2559
พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีใช้อำนาจตามมาตรา 44 ออกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 72/2559 สั่งห้ามหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่ออายุประทานบัตรและใบอนุญาต และให้ผู้ประกอบการเหมืองแร่ทองคำระงับการประกอบกิจการตั้งแต่ 1 ม.ค.2560
ท่ามกลางเสียงของฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการระงับกิจการส่วนใหญ่เป็นพนักงานเหมืองทองและครอบครัว
35
1 มกราคม 2560
เหมืองทองอัครายุติการดำเนินการลงตามคำสั่งของ คสช. ที่ 72/2559

3 เมษายน 2560
บ.คิงส์เกต คอนโซลิเดทเต็ด ลิมิเต็ด ในประเทศออสเตรเลียผู้ถือหุ้นใหญ่ บมจ. อัคราฯ ส่งหนังสือแจ้งรัฐบาลไทยว่าได้ละเมิดข้อตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย จากคำสั่งปิดเหมืองทอง โดยขอเจรจากับรัฐบาลไทย หากไม่สามารถหาข้อยุติได้ในเวลา 3 เดือน บริษัทฯ จะขอเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศเพื่อระงับข้อพิพาท

29 สิงหาคม 2560
พ.ร.บ. แร่ พ.ศ. 2560 มีผลบังคับใช้หลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2560 เป็นการนำหลักการของ พ.ร.บ. แร่ พ.ศ. 2510 และ พ.ร.บ. พิกัดอัตราค่าภาคหลวงแร่ พ.ศ. 2509 มารวมไว้ในฉบับเดียวกัน และมีผลให้ผู้ประกอบการที่ได้รับอาชญาบัตร ประทานบัตรหรือใบอนุญาตที่ออกตาม พ.ร.บ. แร่ ฉบับก่อนหน้ายังคงเป็นผู้ได้รับอาชญาบัตร ประทานบัตร หรือ ใบอนุญาตไปจนกว่าจะสิ้นอายุหรือถูกเพิกถอน
31
2 พฤศจิกายน 2560
บ.คิงส์เกตฯ ยื่นเรื่องต่ออนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ เรียกร้องให้รัฐบาลไทยชดใช้ค่าเสียหายกว่า 750 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 3 หมื่นล้านบาท) จากคำสั่งปิดเหมืองทอง
32
30 ธันวาคม 2560
รัฐบาลสั่งการให้กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงยุติธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตั้งทีมทนายความและนักกฎหมายเพื่อต่อสู้ข้อพิพาทกรณีเหมืองแร่อัคราในคณะอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศที่สิงคโปร์ โดยมีปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธาน
 
29 ตุลาคม 2562
ที่ประชุม ครม. มีการหารือถึงกรณีบริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดตเต็ด ลิมิเต็ด ประเทศออสเตรเลีย บริษัทแม่ของบริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด ผู้ประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำชาตรี ฟ้องร้องรัฐบาลไทย หลังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ใช้อำนาจตามมาตรา 44 สั่งปิดเหมืองแร่ทองคำ จ.พิจิตร ทำให้ต้องเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ 
   ทำให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกลาโหม ประกาศกลางที่ประชุม ครม. ว่าขอเวลาคิดก่อนว่าจะใช้แนวทางใด ยังไม่ขอตัดสินใจ แต่ขอรับผิดชอบด้วยตัวเอง "ผมรับผิดชอบเอง เพราะเป็นผู้ที่ดำเนินการมาตั้งแต่ต้น"

15 พฤศจิกายน 2562
บ.คิงส์เกตฯ แจ้ง ก.ล.ต. ออสเตรเลียว่า กระบวนการอนุญาโตตุลาการระหว่างรัฐบาลไทยและ บ.คิงส์เกตฯ นัดแรกที่ฮ่องกง จำต้องเลื่อนออกไปจากเดิมที่กำหนดไว้วันที่ 18-29 พ.ย. เนื่องจากเหตุความวุ่นวายทางการเมือง

20 พฤศจิกายน 2562
บ.คิงส์เกตฯ แจ้ง ก.ล.ต. ออสเตรเลียถึงความคืบหน้าการไต่สวนนัดแรกในกระบวนการอนุญาโตตุลาการว่าจะเริ่มขึ้นในวันที่ 3 ก.พ. 2563 แต่ยังเปิดการเจรจากับรัฐบาลไทย

13 กุมภาพันธ์ 2563
บ.คิงส์เกตฯ แจ้ง ก.ล.ต. ออสเตรเลียว่า กระบวนการไต่สวนในกระบวนอนุญาโตตุลาการเพื่อระงับข้อพิพาทกับรัฐบาลไทย กรณีเหมืองทองคำชาตรีถูกสั่งปิดได้เสร็จสิ้นแล้วเมื่อวันที่ 12 ก.พ. 2563 แต่ยังไม่ระบุวันอ่านคำพิพากษาชี้ขาด ส่วนการเจรจากับทางการไทยยังคงดำเนินต่อไป

27 สิงหาคม 2563
เหมืองทองอัครา ติดอันดับแฮชแท็กยอดนิยมในประเทศไทย หลังผู้ใช้งานทวิตเตอร์ร่วมแสดงความเห็นเกี่ยวกับ เอกสารงบประมาณปี 2564 ซึ่งระบุถึง ค่าใช้จ่ายราว 111 ล้านบาท ที่ใช้ในการระงับข้อพิพาทกรณีปิดเหมืองทองอัครา
33

ขณะที่สำนักข่าวอิศรารายงานว่า ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ ระหว่างปี 2562-2564 จากสำนักงบประมาณ มีงบเกี่ยวพันในส่วนกรมอุตสาหกรรมและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม ที่ใช้ในวัตถุประสงค์เดียวกันรวม 388 ล้านบาท

 

31 สิงหาคม 2563

ข่าวค่ำ NBT 


8 กันยายน 2563
บ.คิงส์เกตฯ ระบุในเอกสารชี้แจง ก.ล.ต. ออสเตรเลียส่วนหนึ่งระบุว่า บมจ.อัคราฯ ซึ่งเป็นบริษัทลูกกำลังเจรจากับรัฐบาลไทยเพื่อขออนุญาตให้สามารถจำหน่ายสินแร่ทองคำและสินแร่เงินที่ยังติดค้างในถังและโรงงานแปรรูปที่เหมืองทองคำชาตรีหลังจากถูกสั่งปิด

10 กันยายน 2563
บ. คิงส์เกตฯ ออกแถลงการณ์ว่า บมจ.อัคราฯ บรรลุข้อตกลงกับโรงถลุงแร่ของไทยที่จะดำเนินการถลุงสินแร่ตามกฎหมายใหม่ ที่กำหนดให้ทองคำที่ขุดในประเทศไทยต้องถลุงในประเทศไทย โดยได้เริ่มขนส่งสินแร่ไปยังโรงถลุงแล้ว

26 พฤศจิกายน 2563
กพร. อนุมัติออกอาชญาบัตรพิเศษให้แก่ บมจ.อัคราฯ จำนวน 44 แปลงในพื้นที่ อ.ชนแดน และ อ.วังโป่ง จ.เพชรบูรณ์ ครอบคลุมเนื้อหา 397,226 ไร่ เป็นระยะเวลา 5 ปี เริ่มต้น 26 ต.ค. 2563

23 กันยายน 2564
บ.คิงส์เกตฯ เปิดเผยว่า การเจรจากับรัฐบาลไทยเพื่อระงับข้อพิพาทเข้าสู่ระยะสุดท้าย ขณะที่คณะอนุญาโตตุลาการพร้อมที่จะมีคำพิพากษา แต่บริษัทฯ และรัฐบาลไทยได้ร่วมกันร้องขอให้คณะอนุญาโตตุลาการชะลอการอ่านคำพิพากษาออกไปอีกจนถึงวันที่ 31 ต.ค. 2564 เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายหาข้อสรุปในการเจรจา

27 ตุลาคม 2564
บ.คิงส์เกตฯ ออกแถลงการณ์ว่า ภายในเดือน ธ.ค. 2564 บริษัทคาดว่าจะเริ่มปรับปรุงเหมืองทองคำชาตรีด้วยใบอนุญาตการแปรรูปโลหกรรม (Metallurgical Processing License) และต่ออายุสัญญาการเช่าการขุดสำหรับการดำเนินงาน เนื่องจากการเจรจากับรัฐบาลไทยยังไม่สิ้นสุด ทั้งสองฝ่ายจึงขอให้คณะอนุญาโตตุลาการเลื่อนคำตัดสินข้อพิพาทเหมืองทองอัคราไปเป็นวันที่ 31 ม.ค. 2565
34
31 มกราคม 2565
บ.คิงส์เกตฯ ออกคำชี้แจงต่อตลาดหลักทรัพย์ออสเตรเลียถึงขั้นตอนการกลับมาเปิดเหมืองชาตรี โดยส่วนหนึ่งระบุว่าคณะอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศได้เลื่อนคำชี้ขาด “คดีเหมืองทองอัครา” ออกไปโดยไม่มีการกำหนดวัน

กุมภาพันธ์ 2565
กลุ่มตัวแทนประชาชนที่ใช้ชื่อว่า "เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่" พร้อมกับชาวบ้านที่อาศัยใกล้เหมืองทองอัครา ในพื้นที่รอยต่อ จ.พิจิตร เพชรบูรณ์ และพิษณุโลก ยื่นหนังสือต่อผู้นำฝ่ายค้านและพรรคร่วมฝ่ายค้าน เรียกร้องให้ตรวจสอบกรณีรัฐบาลอนุญาตให้ บ.คิงส์เกต คอนโซลิเดทเต็ด ลิมิเต็ด ของออสเตรเลีย ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ บ.อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ผู้ดำเนินการเหมืองทองอัคราสามารถกลับมาดำเนินการได้อีกครั้ง

ความเคลื่อนไหวดังกล่าวมีขึ้นภายหลังจากที่ บ.คิงส์เกตฯ เปิดเผยว่ารัฐบาลไทยอนุมัติประทานบัตรเหมืองแร่ 4 แปลง ปูทางสู่การเปิดเหมืองชาตรีอีกครั้ง โดยการอนุมัตินี้มีขึ้นไม่นานก่อนที่คณะอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศจะเลื่อนการอ่านคำชี้ขาด "คดีเหมืองทองอัครา" ที่บริษัทฟ้องราชอาณาจักรไทยออกไปโดยไม่มีกำหนด จากเดิมที่คาดว่าจะมีคำชี้ขาดในวันที่ 31 ม.ค.

คดีเหมืองทองอัครา เป็นคดีที่ บ.คิงส์เกตฯ ฟ้องร้องต่ออนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศเรียกร้องให้รัฐบาลไทยชดเชยค่าเสียหายกว่า 750 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ 30,000 ล้านบาท จากกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ลงนามในคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 72/2559 สั่งปิดเหมืองทองอัครา ซึ่งบริษัทมองว่าเป็น "คำสั่งปิดเหมืองโดยมิชอบด้วยกฎหมายของรัฐบาลไทย" และเป็นคำสั่งที่ละเมิดข้อตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย

นอกจากกลุ่มตัวแทนจากเครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่แล้วยังมีตัวแทนชาวบ้าน อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก มาร่วมยื่นหนังสือดังกล่าวด้วยราว 20 คนโดยมี นพ. ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทยและผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรเป็นตัวแทนฝ่ายนิติบัญญัติรับเรื่องดังกล่าวพร้อมด้วยตัวแทนของพรรคฝ่ายค้านอื่น ๆ ด้วย

ตัวแทนเครือข่ายฯ ได้กล่าวถึงความไม่ชอบมาพากลของรัฐบาลที่อนุญาตให้ บ.คิงส์เกตฯ เตรียมกลับมาเปิดเหมืองทองอัครา พร้อมกับเรียกร้องให้ฝ่ายค้านนำปัญหาดังกล่าวไปอภิปรายซักฟอกรัฐบาล รวมถึงหาข้อมูลข้อเท็จจริงในกระบวนการอนุญาโตตุลาการมาเปิดเผยสู่สาธารณะ

น.ส. จุฑามาส ศรีหัตถผดุงกิจ ตัวแทนเครือข่ายฯ ระบุว่าเครือข่ายฯ ได้ติดตามกรณีนี้มาโดยตลอดและเห็นว่าเหมืองทองอัคราสมควรจะถูกปิด เนื่องจากการประกอบการมีข้อบกพร่องหลายอย่าง เช่น

-ประชาชนไม่มีส่วนร่วมกระบวนการจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและการอนุญาตประกอบการเหมืองทอง

-บริษัทจัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาชุมชนโดยรอบในระดับที่ต่ำมากคือเพียง 0.1% ของมูลค่าทองคำที่ได้

-เหมืองทองไม่มีแนวกันชน ทำให้หมู่บ้านที่อยู่ติดกับเหมืองกลายเป็นหมู่บ้านร้าง ชุมชนล่มสลาย,

-ไม่มีการฟื้นฟูพื้นที่ในระหว่างและหลังปิดเหมือง

"เป็นเรื่องน่าเสียใจที่รัฐบาลไทยไม่ได้นำข้อมูลนี้ไปใช้สู้คดีในขั้นอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศอย่างเพียงพอ เสมือนว่ามีพฤติกรรมสมยอมให้ไทยต้องแพ้คดีฯ หรือแลกกับการไม่แพ้คดีโดยให้ บ.คิงส์เกตฯ กลับมาทำเหมืองแร่ทองคำอีกครั้งได้" เธอกล่าว

คำถามต่อสิ่งที่รัฐบาลไทยให้ บ.คิงส์เกต
ผู้แทนเครือข่ายฯ อ้างถึงรายงานข่าวในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า บ.อัคราฯ ได้รับประทานบัตร รวมทั้งผลประโยชน์อื่น ๆ ที่อาจจะเกินไปกว่าข้อพิพาทในชั้นอนุญาโตตุลาการฯ เพื่อแลกกับรัฐบาลประยุทธ์ไม่ต้องถูกคณะอนุญาโตตุลาการฯ มีคำสั่งชี้ขาดให้แพ้คดี ซึ่งต้องเสียค่าปรับประมาณ 24,750 ล้านบาท ตามอัตราแลกเปลี่ยนในปัจจุบัน

โดยเครือข่ายฯ ตั้งข้อสังเกต 7 ประการที่ทำให้พวกเขามองว่ารัฐบาลกำลังให้ผลประโยชน์แก่ บ.คิงส์เกตที่เกินไปกว่าข้อพิพาท

1. บริษัทจะได้รับอนุญาตให้กลับมาทำเหมืองใหม่บนพื้นที่เดิม หรือ "แหล่งชาตรี" ที่ยังเหลืออีก 1 แปลงจากทั้งหมด 5 แปลง พื้นที่ 1,259 ไร่ และใน "แหล่งชาตรีเหนือ" ที่ยังเหลืออีก 8 แปลง จากทั้งหมด 9 แปลง พื้นที่ 2,466 ไร่ รวมทั้งการขยายอายุประทานบัตรแหล่งชาตรีที่หมดอายุประทานบัตรไปเมื่อปี 2563 หรือต่ออายุประทานบัตรให้กับแหล่งชาตรีไปอีก 10-20 ปี ขยายอายุประทานบัตรแหล่งชาตรีเหนือที่หมดอายุประทานบัตรในปี 2571 ด้วย เนื่องจากเสียโอกาสที่ไม่ได้ทำเหมืองมาหลายปีจากคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 72/2559 ที่่สั่งการทำเหมืองทองทั้งหมดนับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2560

2. บริษัทจะได้รับอนุญาตให้ทำเหมืองแร่ในพื้นที่ใหม่นอกจากข้อที่ 1 ที่เป็นคำขอประทานบัตรที่ค้างมานานหลายปี ตามข้อมูลที่บ.คิงส์เกตฯ เคยแถลงต่อตลาดหลักทรัพย์ในประเทศออสเตรเลีย พบว่าเป็นพื้นที่ใหม่ดังกล่าวคือ "แหล่งสุวรรณ" ซึ่งอยู่ห่างจากแหล่งชาตรีขึ้นไปทางเหนือ 6-10 กิโลเมตร อยู่บนพื้นที่ประมาณ 20 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 12,500 ไร่ คาดว่าน่าจะอยู่ในเขต ต.วังโพรง อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก และ "แหล่งโชคดี" อยู่ห่างจาก "แหล่งชาตรี" ขึ้นไปทางเหนือ 20 กิโลเมตร บนพื้นที่ประมาณ 18,750 ไร่ คาดว่าจะอยู่ในเขตของ ต.บ้านมุง และ ต.วังยา อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก ซึ่งเป็นแหล่งทองคำที่ทับลงบนพื้นที่ทั้งในและนอกเขตอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวงและป่าสงวนแห่งชาติป่าลุ่มน้ำวังทองฝั่งซ้าย

3. จะได้รับการขยายเวลาหรือต่ออายุใบอนุญาตต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการทำเหมืองทองตามประทานบัตรแหล่งชาตรีและแหล่งชาตรีเหนือ เช่น ใบอนุญาตประกอบโลหกรรม ใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่เพื่อการเก็บขังน้ำขุ่นข้นหรือมูลดินทรายนอกเขตเหมืองแร่ เป็นต้น ซึ่งถือว่าเป็นการ "กระทำผิดให้เป็นถูก" ด้วย คือ อนุญาตให้โรงประกอบโลหกรรมขยายการถลุงแร่ทองคำเพิ่มอีกสามเท่าจาก 8,000 ตันต่อวัน เป็น 24,000 ตันต่อวัน ทั้งที่โรงงานแห่งนี้สร้างก่อนได้รับอนุญาตโรงงานและก่อนรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) จะผ่านความเห็นชอบ ซึ่งขณะนี้เป็นคดีความอยู่ในศาลปกครองสูงสุด โดยศาลปกครองชั้นต้นได้มีคำสั่งไม่ให้โรงประกอบโลหกรรมส่วนขยายดำเนินการ

4. บริษัทจะได้รับการลดหย่อนค่าภาคหลวงแร่ ผลประโยชน์พิเศษที่จะต้องมอบให้แก่กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) เมื่อได้ประทานบัตรและเมื่อได้ภาษีอื่น ๆ ของการประกอบกิจการอื่น ๆ และเหมืองทองโลหกรรม

5. นำ บ.อัคราฯ เข้าตลาดหลักทรัพย์ไทยโดยไม่ต้องทำตามขั้นตอนของกฎหมายเพิ่มเติม

6. บริษัทจะได้รับอนุญาตอาชญาบัตรพิเศษสำรวจแร่ทองคำไม่ต่ำกว่า 1 ล้านไร่ ซึ่งเครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่มีข้อมูลว่า บ.คิงส์เกตฯ ได้รับอาชญาบัตรไปแล้ว 44 แปลง เนื้อที่ประมาณ 4 แสนไร่ ใน จ.เพชรบูรณ์ ตามมติคณะกรรมการแร่เมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2563 ส่วนอีก 6 แสนแปลงอยู่เขตรอยต่อ 3 จังหวัด พิจิตร เพชรบูรณ์และพิษณุโลก และพื้นที่อื่น ๆ ใน จ.ลพบุรี ชลบุรีและจันทบุรี

7. บ.คิงส์เกตฯ จะได้รับอนุญาตให้ขนสินแร่ทองคำและเงินคงค้างในระบบผลิตเดิมก่อนถูกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 72/2559 ระงับยับยั้งไว้เข้าสู่กระบวนการถลุงโลหะทองคำและเงินในโรงถลุงภายในประเทศได้ตั้งแต่เดือน ก.ย. 2563

ก่อนหน้านี้ นายนิรันดร์ ยิ่งมหิศรานนท์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ได้เคยอธิบายถึงกรณีเห็นชอบต่ออายุประทานบัตร บมจ.อัครา ฯ เมื่อวันที่ 21 ม.ค. ที่ผ่านมาว่า สำหรับการอนุญาตอาชญาบัตรพิเศษและการประกอบโลหกรรม รวมถึงการอนุญาตให้ต่ออายุประทานบัตรเหมืองแร่ เป็นไปเพื่อสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมของไทยให้มีวัตถุดิบทองคำและเงินทดแทนการนำเข้า ช่วยเสริมสร้างเศรษฐกิจให้กับประเทศ และยกระดับรายได้ ตลอดจนคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนบริเวณใกล้เคียงให้สูงขึ้น ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ฝืดเคือง ประชาชนมีรายได้ลดลงจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 โดยมีเงื่อนไขว่า บริษัทฯ ต้องดำเนินการด้วยความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนด้วย

ฝ่ายค้านรับปากตั้งกระทู้ถามรัฐบาล
ด้าน นพ. ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทยและผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร กล่าวภายหลังการรับหนังสือจากเครือข่ายประชาชนฯ ว่า พรรคร่วมฝ่ายค้านจะนำเรื่องนี้เข้าสู่กระบวนการของทางรัฐสภาตามความประสงค์ของกลุ่มผู้ร้องเรียน

"ในปีนี้พรรคร่วมฝ่ายค้านได้เขียนญัตติเป็นการอภิปรายทั่วไปตาม รัฐธรรมนูญมาตรา 152 เพื่อนำเรื่องเหมืองทองอัครา เรื่องการอนุญาตอนุมัติการเปิดเหมืองใหม่ การให้สิทธิบัตรต่าง ๆ เข้าไปเป็นประเด็นสอบถามข้อเท็จจริงในสภา" นพ. ชลน่านกล่าว และจะนำข้อมูลดังกล่าวที่เครือข่ายตั้งข้อสังเกตมาตั้งเป็นกระทู้สดสอบถามผู้เกี่ยวข้องในสภาทันทีในวันพรุ่งนี้ (3 ก.พ.)

นอกจากนี้ผู้นำฝ่ายค้านกล่าวว่า จะลงพื้นที่ไปรับฟังความคิดเห็นและพบปะประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งผลักดันให้เรื่องนี้เข้าไปยังคณะกรรมาธิการเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงเชิงลึกคู่ขนานไปด้วย

 

แต่ทั้งหมดนี้มาสะดุดอยู่ตรงที่ประยุทธ์ได้ลั่นวาจาออกไปแล้วในที่ประชุม ครม. ว่า "ผมเป็นคนทำแต่ต้น ผมรับผิดชอบเอง ปมจ่ายค่าปรับเหมืองทองอัครา" ของมติชนวันที่ 30 ตุลาคม 2562

36

วงประชุม ครม.ถกปมจ่ายค่าปรับเหมืองทองอัครา “สุริยะ” รายงาน 4 ทางออก แต่ยังไร้ข้อสรุป ด้าน “บิ๊กตู่” ลั่น “ผมรับผิดชอบเอง”

เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม ผู้สื่อข่าวรายงานจากทำเนียบรัฐบาล ว่า ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีการพูดคุยหารือกันอย่างกว้างขวางในเรื่องบริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดตเต็ด ลิมิเต็ด ประเทศออสเตรเลีย บริษัทแม่ของบริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด ผู้ประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำชาตรี ฟ้องร้องรัฐบาลไทย หลังจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ใช้อำนาจตามมาตรา 44 สั่งปิดเหมืองแร่ทองคำ จังหวัดพิจิตร ทำให้ประเทศไทยเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ โดยนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม รายงานในเรื่องดังกล่าวว่า ขณะนี้รัฐบาลดำเนินการเจรจาและดำเนินตามกระบวนการกฎหมายมาโดยตลอด และรายงานทางออกในเรื่องดังกล่าว 4 ข้อ

โดยที่ประชุม ครม.รับทราบข้อสรุปทางออกเรื่องดังกล่าว 4 ข้อ ประกอบด้วย 1.จ่ายเงินให้กับบริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) แล้วให้เลิกกิจการไป 2.ดำเนินการตามข้อเสนอของบริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ซึ่งจะช่วยให้อาจไม่ต้องจ่ายเงิน 3.รอผลการตัดสินของอนุญาโตตุลาการ แล้วปฏิบัติตาม และ 4.หาช่องจ่ายเงินค่าปรับบางส่วน โดยให้ชดเชยค่าเสียหาย แล้วให้ดำเนินกิจการต่ออย่างไรก็ตาม ที่ประชุมมีการทักท้วงว่า เมื่อรัฐบาลสั่งปิดกิจการของเหมืองไปแล้ว ไม่เห็นควรที่จะให้มีการดำเนินกิจการต่อไป ดังนั้น ควรหาแนวทางอื่น ซึ่งที่ประชุม ครม.ก็ยังไม่ได้มีข้อเสนอแนะว่าควรใช้แนวทางใด หรือข้อสรุปใดในเรื่องดังกล่าว

ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและ รมว.กลาโหม กล่าวกลางที่ประชุมว่า ขอเวลาคิดก่อนว่าจะใช้แนวทางใด ซึ่งเวลานี้ยังไม่ขอตัดสินใจ แต่ขอรับผิดชอบด้วยตัวเอง “ผมรับผิดชอบเอง” เพราะเป็นผู้ที่ดำเนินการมาตั้งแต่ต้น ด้าน พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย แสดงความเห็นว่า รัฐบาลควรรอผลการตัดสินของอนุญาโตตุลาการก่อน ส่วนนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ แสดงความคิดเห็นและเสนอว่าควรจะใช้แนวทางไหนได้บ้าง

คลิปบทสรุปปี 2565 จาก THE STANDARD
 

ขอบคุณ: BBC Thai, เรื่องเล่าเช้านี้, มติชนออนไลน์, ข่าวค่ำ NBT, THE STANDARD